FAQ (คำถามที่พบบ่อย)
1. คำถาม สิ่งของที่ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยทางไปรษณีย์ ทำไมต้องเสียภาษีอากร ?
คำตอบ ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 4 วรรคแรก กำหนดว่า“ของที่นำหรือพาเข้ามาในหรือส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตรา อากรท้ายพระราชกำหนดนี้”
2. คำถาม สิ่งของส่งเข้ามาทางไปรษณีย์ เพื่อเป็นของขวัญ ทำไมต้องเสียภาษีอากร ?
คำตอบ สิ่งของที่ส่งเข้ามาโดยทางไปรษณีย์จะได้รับยกเว้นอากรจะต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภทที่ 12 และประเภท 14 คือ
ประเภท 12 “ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือของที่นำเข้าทางสนามบิน ศุลกากร ซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาท ประเภท 14 “ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่าง และไม่มีราคาในทางการค้า” คำชี้แจงเพิ่มเติม ของขวัญที่เข้าหลักเกณฑ์ตามประเภท 12 จึงจะได้รับยกเว้นอากร
3. คำถาม สิ่งของส่งเข้ามาทางไปรษณีย์ ซึ่งซื้อเข้ามาใช้ส่วนตัวมิได้นำมาขาย หรือเพื่อการค้า ทำไมต้องเสียภาษีอากร?
คำตอบ สิ่งของที่ส่งเข้ามาโดยทางไปรษณีย์จะได้รับยกเว้นอากรจะต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภทที่ 12 และประเภท 14 คือ ประเภท 12 “ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือของที่นำเข้าทางสนามบินศุลกากร ซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาท" ประเภท 14 “ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่าง และไม่มีราคาในทางการค้า” คำชี้แจงเพิ่มเติม สิ่งของที่สั่งซื้อเข้ามาเพื่อใช้ส่วนตัว หากเข้าหลักเกณฑ์ ประเภท 12 และประเภท 14 จึงจะได้รับยกเว้นอากร
4. คำถาม สั่งซื้อวิตามินมาใช้เองจากต่างประเทศ โดยส่งเข้ามาทางไปรษณีย์จะต้องเสียภาษีอากร หรือไม่ ?
คำตอบ กรณีเป็นวิตามินจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้นำเข้าได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้นำเข้าจาก อย. แล้ว จะต้องชำระค่าภาษีอากร แต่จะได้รับการยกเว้นอากร หากเข้าในหลักเกณฑ์ตาม พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภทที่ 12 และประเภท 14 คือ ประเภท 12 “ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือของที่นำเข้าทางสนามบิน ศุลกากร ซึ่งแต่ละรายมีราคาไม่เกินหนึ่งพันบาท ประเภท 14 “ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่าง และไม่มีราคาในทางการค้า” .
5. คำถาม สั่งซื้อ e-cigarette ทาง Internet และส่งเข้ามาทางไปรษณีย์ทำไมจึงถูกกักของไว้
คำตอบ e-cigarette จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ยาที่มีนิโคตินหรือสารประกอบของนิโคตินซึ่ง มุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ” ผู้รับของต้องได้รับอนุญาตนำเข้าจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน ผู้ฝ่าฝืนนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2522
6. คำถาม สั่งซื้อเครื่องสำอางมาใช้เองจำนวนไม่มาก และส่งเข้ามาทางไปรษณีย์จะต้องเสียภาษีอากร หรือไม่ ?
คำตอบ ผู้สั่งซื้อเครื่องสำอางจะต้องได้รับอนุญาตนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และต้องมีใบสำคัญการขึ้น ทะเบียนจาก อย. ก่อนการนำเข้ามา ผู้ฝ่าฝืนจะต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 กรณีนำหรือส่งเครื่องสำอางเข้ามาที่มิใช่เพื่อการขาย เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือเพื่อใช้ส่วนตัวหรือเป็นของขวัญ ให้อยู่ใน อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ อย. ที่จะพิจารณาให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา ว่าด้วยการนำหรือส่งเครื่องสำอางสำเร็จรูปเข้ามาในราชอาณาจักรที่มิใช่เพื่อขาย พ.ศ.2553 เมื่อผู้สั่งซื้อได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้จาก อย. แล้ว จะต้องชำระภาษีอากรดังนี้ 1. อากรขาเข้าในอัตรา 40% ของราคา CIF (ราคาของ+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย) 2. ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของราคา CIF + อากรขาเข้า แล้ว
7. คำถาม เมื่อสั่งซื้อเครื่องสำอางเข้ามา และ อย.ไม่อนุญาตให้นำเข้า จึงต้องการจะขอส่งของกลับคืนไปยังผู้ขายในต่างประเทศ ได้หรือไม่ ?
คำตอบ เครื่องสำอางจัดเป็นของต้องกำกัด คือของที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า หากจะส่งกลับคืนออกไปก็จะต้องได้รับใบอนุญาตให้นำ เข้าเพื่อส่งออก (Re-export) จาก อย. เช่นกัน กรมศุลกากรไม่มีอำนาจอนุญาตให้ส่งกลับคืนออกไป
8. คำถาม “ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ” (กระดาษขาว ตัวหนังสือสีเขียว) สูญหายทำอย่างไร จึงจะมารับของได้ ?
คำตอบ ให้ไปแจ้งความกับสถานีตำรวจในพื้นที่ และนำหลักฐานใบแจ้งความพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านไปติดต่อศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ถนนรองเมือง โทร.02-2153693 , 02-2142174 หรือติดต่อ ฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์ โทร.02-2150967-8 เพื่อขอออกใบแทนใบแจ้งฯ ที่หายไป
9. คำถาม “ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ”พิมพ์ชื่อ ที่อยู่ หรือรายการอื่นๆ ผิด จะต้องแก้ไขอย่างไร ?
คำตอบ ให้นำใบแจ้งฯ ดังกล่าวไปติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ที่ฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์ ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์และอากาศยาน(ด่านศุลกากรไปรษณีย์) ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร.02-2150967-8 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องซึ่งติดที่หน้าหีบห่อของ หากพบว่าผิดจริงเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
10. คำถาม หากไม่สามารถมาติดต่อรับของด้วยตนเองจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทนจะต้องทำอย่างไร ?
คำตอบ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ให้ดำเนินการดังนี้
1. ให้ผู้มีชื่อเป็นผู้รับ กรอกรายละเอียดด้านหลังใบแจ้งฯ และลงนามผู้มอบฉันทะ
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้รับ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
3. ผู้รับมอบฉันทะ กรอกรายละเอียด และลงนามในส่วนของผู้รับสิ่งของ พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
4. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้รับมอบฉันทะ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
5. นำใบแจ้งฯ ที่กรอกรายละเอียดแล้วตาม ข้อ 1 และ 3 พร้อมเอกสารข้อ 2 และ 4 ไปติดต่อรับของ
กรณีเป็นนิติบุคคล ให้ดำเนินการดังนี้
1. แนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมประทับตรา และลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลนั้นฯ
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3.ผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล กรอกรายละเอียดด้านหลังใบแจ้งฯ และลงนาม เป็นผู้มอบฉันทะ
4.ผู้รับมอบฉันทะ กรอกรายละเอียด และลงนามในส่วนของผู้รับสิ่งของ
5.แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้รับมอบฉันทะ หรือผู้รับสิ่งของ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
6.นำใบแจ้งฯ ที่กรอกรายละเอียดแล้วตาม ข้อ 3 และ 4 พร้อมเอกสารตามข้อ 1,2 และ 5 ไปติดต่อรับของ
11. คำถาม สั่งซื้อเครื่องมือแพทย์เข้ามาทางไปรษณีย์ แต่ อย. ไม่อนุญาตให้นำเข้า จะขอส่งคืนผู้ขายในต่างประเทศได้หรือไม่ ?
คำตอบ เครื่องมือแพทย์เป็นของที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าของ อย. ดังนั้นหากจะส่งออกไปก็จะต้องมีใบอนุญาตให้นำเข้าเพื่อส่งออก (Re-export) จาก อย. เช่นกัน
12. คำถาม ได้รับใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ระบุค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ ซึ่งเห็นว่าสูงเกินไป จึงต้องการจะ อุทธรณ์ จะต้องทำอย่างไร ?
คำตอบ
1. ผู้รับมีสิทธิอุทธรณ์ โดยเขียนคำร้องขออุทธรณ์ภาษีอากร (พิมพ์คำร้องได้จาก www.postalcustoms.com หัวข้อแบบฟอร์มคำร้องขออุทธรณ์ภาษีอากร) พร้อมแจ้งเหตุผล และแนบหลักฐานการซื้อขาย เพื่อแสดงราคาซื้อขายที่แท้จริง และระบุด้วยว่าเมื่อศุลกากรพิจารณาเสร็จแล้ว จะขอติดต่อรับของที่ไปรษณีย์ปลายทาง หรือไปติดต่อรับที่ ด่านศุลกากรไปรษณีย์ ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
2. ทั้งนี้ผู้รับจะต้องยังไม่ชำระค่าภาษีอากร และยังรับของไม่ได้ จนกว่าการพิจารณาอุทธรณ์จะเสร็จสิ้น
3. ผู้รับยื่นคำร้องขออุทธรณ์ภาษีอากร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ไปติดต่อ
13. คำถาม ผู้รับอยู่ต่างจังหวัด ได้รับใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ระบุว่าให้ไปติดต่อฝ่ายบริการศุลกากร ไปรษณีย์ ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ซึ่งไม่สะดวกที่จะเดินทางมา ต้องการให้ศุลกากรส่งของไปที่ทำการไปรษณีย์ ใกล้บ้าน จะต้องทำอย่างไร ?
คำตอบ ผู้รับส่งคำร้องถึงฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์ ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ แจ้งเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถ เดินทางมารับของที่กรุงเทพฯ ขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดห่อของประเมินค่าภาษีอากร และส่งไปที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้าน ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดตรวจของแล้วพบเป็นของต้องห้ามต้องกำกัด ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะไม่สามารถดำเนินการตามคำร้องได้ คือท่านจะต้องไปติดต่อรับของเองที่ฝ่ายบริการ ศุลกากรไปรษณีย์ เนื่องจากจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง