เขตประกอบการเสรี : ศักยภาพและโอกาสการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในนิคมอุตสาหกรรม |
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งโดยพระราช บัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 นับเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ กนอ. ดำเนินบทบาทและภารกิจภายใต้กฎหมายจัดตั้งดังกล่าว เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้สมบูรณ์แบบ ด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งระบบบริหารจัดการครบวงจรและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ |
เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวเป็นกลไกในการเพิ่มพูนศักยภาพ และสมรรถนะในการดำเนินธุรกิจของนักลงทุน และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีว่าด้วย ความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการของกฎหมายดังกล่าว และตราเป็นพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 |
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. กนอ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 |
1.จำแนกนิคมอุตสาหกรรมออกเป็น 2 เขต คือ เขตอุตสาหกรรมทั่วไป และ เขตประกอบการเสรี ซึ่งกำหนดขึ้นแทนที่ เขตอุตสาหกรรมส่งออก โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการส่งออกในเขตประกอบการเสรี เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีว่าด้วย ความตกลงขององค์การการค้าโลก |
ศักยภาพและโอกาสการลงทุนที่เพิ่มขึ้น |
ศักยภาพในการประกอบกิจการของนักลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตประกอบการเสรี จะเพิ่มพูนขึ้นด้วยสิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นยุทธฐานการผลิตและการบริการที่สมบูรณ์แบบ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมตลอดจนผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม |
การลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone) |
ผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้ |
การลงทุนในเขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) |
ภายใต้กฎหมาย กนอ. ฉบับล่าสุด นักลงทุนในเขตประกอบการเสรีจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ดังนี้ |
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม |
พ.ร.บ. กนอ. ฉบับล่าสุด ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ดังนี้ |
ศักยภาพการแข่งขันของไทยในตลาดโลก |
การแก้ไขกฎหมายของ กนอ. ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทยในเวทีการค้าโลก ดังนี้ o ประเทศไทยได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณีว่าด้วยความตกลง WTO ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าและการลงทุน o ผู้ประกอบการจะไม่มีปัญหาการถูกตอบโต้จากการอุดหนุนเพื่อการส่งออกจากประเทศสมาชิก WTO ที่ผู้ประกอบการส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศดังกล่าว o เกิดการขยายตัวทางการค้าตามแนวทางการค้าเสรีที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น o สร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการมากขึ้น o ได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศ WTO ซึ่งมีจำนวน 150 ประเทศ เช่นสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เป็นต้น o ผู้ประกอบการจะทำธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น กล่าวคือสามารถเลือกตลาดการค้าได้ตามสภาวะการแข่งขัน โดยจะเลือกขายสินค้าภายในประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศก็ได้ ซึ่งทำให้สามารถขยายตลาดการค้าไปยังตลาดโลกได้มากขึ้น |