พิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล 1. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว
รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเป็นการชั่วคราวและจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือนจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยผู้ที่ประสงค์จะนำยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมง เข้ามาพร้อมกับตนเองเป็นการชั่วคราวต้องปฏิบัติตามหลักเกณ์และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ให้ครบถ้วน 1.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว (1) ใบขนสินค้าพิเศษและมีสำเนา 5 ฉบับ (2) ทะเบียนยานพาหนะ (3) บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของผู้ควบคุมยานพาหนะ (4) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะมิใช่เจ้าของ (5) คำร้องขอนำรถเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว (6) หลักฐานการซื้อขาย เช่น Proforma Invoice, Invoice (7) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (8) สัญญาประกันการส่งกลับ (9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 1.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่นำเข้า กรณีมีสิ่งของอื่นหรือผู้โดยสารและสิ่งของติดตัวผู้โดยสารเข้ามาพร้อมกับยานพาหนะ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องแจ้งกรมศุลกากรด้วย (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และกำหนดวงเงินค้ำประกันสำหรับการนำเข้านั้น ๆ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักประกัน (เงินสดหรือ ธนาคารค้ำประกัน) ไปชำระที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการวางประกันมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร (5) กรมศุลกากรจะตรวจยานพานะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะมอบสำเนาใบขนสินค้าพิเศษ ให้ผู้นำเข้าไว้ 1 ฉบับ เพื่อใช้กำกับยานพาหนะและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อนำยานพาหนะออกไปนอกประเทศไทย 1.3 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกยานพาหนะส่วนบุคคล (1) ผู้ส่งออกยื่นใบขนสินค้าพิเศษที่กรมศุลกากรออกให้ขณะนำเข้าและสำเนา 1 ฉบับ พร้อมกับแบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) 1 ฉบับ แก เจ้าหน้าที่ศุลกากร (2) กรมศุลกากรจะตรวจยานพาหนะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะถอนประกันทัณฑ์บนที่ผู้นำเข้าทำไว้กับกรมศุลกากรขณะนำเข้า 1.4 ข้อควรทราบในการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล (1) หากผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาทัณฑ์บนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนทั้งสิ้น (2) กรณีผู้นำเข้าต้องการขอขยายเวลาการนำรถออกนอกประเทศไทยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน ก็สามารถขอขยายเวลากับกรมศุลกากรได้อีกแต่ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เครื่องยนต์เสีย หรือรถยนต์ถูกชนต้องเสียเวลาในการซ่อม ก็อาจขยายเวลาออกไปให้เกินกว่า 6 เดือนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 เดือน นับแต่วันนำเข้า (3) การประกันและการค้ำประกัน ผู้นำเข้าสามารถวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนำเข้าทางสำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ให้ค้ำประกันตนเองได้ ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่สามารถจะวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารได้จริงๆ กรมศุลกากรก็อาจพิจารณาอนุมัติให้ผู้นำเข้าค้ำประกันตนเองได้ การกำหนดเงินประกันและเงินค้ำประกัน กรมศุลกากรจะกำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประเภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงินประกัน (4) การบังคับตามสัญญาประกัน เมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน หรือผู้นำของเข้าได้แสดงความจำนงก่อนครบกำหนดดังกล่าวว่าไม่ประสงค์จะนำรถกลับออกไป กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาประกันเต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีผู้นำรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศทางเขตแดนทางบกเป็นการชั่วคราวและจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีที่ผู้นำเรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท (5) คำว่า “เรือสำราญและกีฬา” หมายถึง เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร ์เรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เข้ามาจากต่างประเทศนั้น นายเรือจะต้องมารายงานเรือเข้าเช่นเดียวกับเรือทั้งหลายที่มาจากต่างประเทศ ส่วนเรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เดินทางไปต่างประเทศ จะต้องยื่นใบสำแดงรายงานเรือออก และขอรับใบปล่อยเรือขาออกจากกรมศุลกากรด้วย 1.5 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว สามารถติดต่องานพิธีการ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ |
2. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร
การนำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคลหากในลักษณะนี้ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าภาษีอากรตามปกติ หากเป็นรถยนต์ใหม่ก็ให้ปฏิบัติพิธีการนำเข้าเช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้าอื่น ๆ แต่หากเป็นรถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วจะถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้ามาในประเทศไทย ในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่เป็นการนำเข้าชั่วคราวหรือการนำเข้าเฉพาะตัวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เท่านั้น 2.1 หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร (1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน (2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสืออนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมาแสดงในการนำเข้าด้วย (3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามาเพื่อมีภูมิลำเนาในประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึงวันที่เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นอยู่ในระหว่างอยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือนและมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ 2.2 เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร (1) เอกสารทั่วไป ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill) เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี) ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) กรณีสินค้านำเข้ามีราคา CIFเกิน 500,000 บาท ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ (2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว
(4) หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าภาษีอากร เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกำหนดไว้ชัดเจน
วิธีคิดอัตราอากรรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดปริมาตรช่วงชักภายในกระบอกสูบ ไม่เกิน 2400 ซีซี
วิธีคำนวณ
2.6 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร สามารถติดต่อฝ่ายการนำเข้า ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ |
ที่มา http://www.ladkrabangcustoms.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=313984
วิธีคำนวน
สมมุตว่า มีรถ 1 คัน ราคาซื้อ 1,500,000 ซื้อมาแล้ว 4 ปี รัฐ หักค่าสึกหรอ ร้อยละ 46.67
ราคาประเมินรถคันนี้ จากราคาที่แท้จริง 1,500,000 เหลือ 799,950 หรือ ตัวกลม คือ รัฐคิดว่ารถคันนี้ มีมูลค่า 800,000 บาท
แล้ว คิดอย่างไง
CIF ของรถยนต์นั่ง = 100
• อากรขาเข้า = 80%
• ภาษีสรรพสามิต = 35%
• ภาษีเพื่อมหาดไทย = 10%
• ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7%
วิธีคำนวณ
1. อากรขาเข้า = (ราคา CIF x อัตราอากรขาเข้า)
= (800,000 x 0.8)
อากรขาเ้ข้าที่ต้องเสีย = 639,960
2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิต/ 1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)
= (800,000 + 639,960) x 0.35/ 1-(1.1 x 0.35)
= 1,439,960 x 0.5691057
ภาษีสรรพสามิต ที่ต้องเสีย = 81,948.94
3. ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย
= 81.948 x 0.1
ภาษีเพื่อมหาดไทย ต้องเสีย = 8,194.89
4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม = ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
= 800,000 + 639,960 + 81,948.94 + 8,194.89
= 1,530,103.83
5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
= 1,530,103.83 x 0.07
ภาษีมูลค่าเพิมต้องเสีย = 107,107.26
รวมอัตราอากรทั้งหมด = 1 + 2 + 3 + 5 = 837,211
หากนำรถนำเ้ข้ามาจากต่างประเทศ ซื้อมา 1,500,000 ใช้มาแล้ว 4 ปี ต้องเสียภาษี 837,211 บาท
ยังไม่รวมค่าขนส่ง จากต่างประเทศ และค่าบริการ ชิปปิ้ง(ถ้ามี)